วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 2024

          การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียดและเปรียบเทียบความเครียดของผู้ปกครองเด็กที่นอนรักษาในโรงพยาบาลปราสาท กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองเด็กป่วยอายุ 0-15 ปี ที่นอนรักษาในโรงพยาบาลปราสาท โดยสุ่มแบบเจาะจงจำนวน 100 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม   ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปและอาการพฤติกรรมหรือความรู้สึกที่เกิดจากความเครียด ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้วิธีอัลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.84  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างระหว่างวันที่ 23 ธันวาคม  2550 - 12 กุมภาพันธ์ 2551 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ ได้แก่ t-test และ F-test ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้

          จากผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองที่มาเฝ้าไข้ผู้ป่วยเด็กที่นอนรักษาในโรงพยาบาลปราสาท

มีความเครียดอยู่ในระดับสูง และตัวแปรอาชีพ สถานภาพทางสังคมและจำนวนครั้งของการนอนรักษาในโรงพยาบาล มีผลต่อความเครียด พยาบาลควรประสานกับหน่วยงานเวชปฏิบัติครอบครัวในเรื่องสุขภาพจิตชุมชน เพื่อให้ อสม.ช่วยค้นหาครอบครัวที่มีปัญหาความเครียด ให้มารับการปรึกษาจากนักจิตวิทยา  มีการประชาสัมพันธ์ผ่านสถานีวิทยุชุมชนของโรงพยาบาลปราสาท คลื่น 87.75 mHz

เพื่อแนะนำช่องทางในการติดต่อการปรึกษาปัญหาความเครียด ทางโทรศัพท์  หรือหน่วยงานสังกัดกรมสุขภาพจิตทุกแห่ง พยาบาลควรมีการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ  ในการฝึกอาชีพให้กับญาติผู้ป่วย เพื่อเป็นการช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจให้สามารถทำงานหารายได้เมื่ออยู่ที่บ้าน  มีการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานสุขภาพจิตของโรงพยาบาลอยู่เป็นประจำ เมื่อมีผู้ปกครองหรือผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาด้านความเครียดหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ  และพัฒนาให้ครอบคลุมต่อไป     เน้นการดูแลสุขภาพจิตของผู้ปกครองเด็กที่มานอนโรงพยาบาลโดยเฉพาะกลุ่มแม่บ้าน        กลุ่มสถานภาพหย่าร้าง และกลุ่มที่มีประสบการณ์การนอนโรงพยาบาลบ่อย เพื่อช่วยลดความวิตกกังวลซึ่งอาจก่อให้เกิดความเครียดตามมา

ลงชื่อเข้าใช้งาน

Error message here!

Hide Error message here!

Lost your password? Please enter your email address. You will receive a link to create a new password.

Error message here!

Close