วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 2024

ปรอทวัดไข้ ถือว่าเป็นอุปกรณ์เครื่องทางการแพทย์ที่มีความสำคัญในการวินิจฉัยโรคเบื้องต้น และจากการสังเกตเด็กที่ต้องได้รับการวัดไข้ โดยใช้ ปรอทวัดไข้ ส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมที่หวาดกลัวและไม่ให้ความร่วมมือในการวัดไข้ จึงทำการศึกษาพฤติกรรมของเด็กอายุ 2-5 ปีต่อการใช้ปรอทวัดไข้แบบทั่วไปและแบบประยุกต์ที่มารับบริการ ณ คลินิกเด็ก แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลปราสาทโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของเด็กและเปรียบเทียบพฤติกรรมของเด็กอายุ 2-5 ปีต่อการใช้ปรอทวัดไข้แบบทั่วไปและแบบประยุกต์ เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi experiment)เลือกตัวอย่าง แบบเจาะจง  ได้กลุ่มตัวอย่าง 100 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ใช้ปรอทวัดไข้ แบบทั่วไป และกลุ่มที่ใช้ปรอทวัดไข้แบบประยุกต์ อย่างละเท่ากันเครื่องมือประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปและแบบบันทึกพฤติกรรมการแสดงออกของเด็ก ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นมาจากพฤติกรรมและพัฒนาการของวัยเด็กตอนต้น ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเด็ก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยพยาบาลประจำคลินิกเด็กจำนวน 2 ท่านที่ผ่านการชี้แจ้งถึงวิธีการบันทึกในแนวทางเดียวกัน ระหว่างวันที่ 1กันยายน - 31ตุลาคม 2555 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติวิเคราะห์ ได้แก่  Independent

 t-testผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการแสดงออกในทางบวกต่อการใช้ปรอทวัดไข้แบบประยุกต์คือ แสดงความสนใจสายตาจ้องมองที่ปรอทวัดไข้ร้อยละ 100.0 และไม่แสดงออกถึงความหวาดกลัวเมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการแสดงออก จำแนกด้านสีหน้า ท่าทาง และด้านเสียงผลการวิจัยพบว่ากลุ่มเด็กที่ใช้ปรอทวัดไข้แบบประยุกต์มีคะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมการแสดงออกที่สูงกว่ากลุ่มเด็กใช้ปรอทวัดไข้แบบทั่วไป (= 10.62 และ =3.42 ) และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 18.99*)จากการค้นพบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าปรอทวัดไข้แบบประยุกต์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดพฤติกรรมหวาดกลัว และการไม่ให้ความร่วมมือของเด็ก ในการตรวจรักษาของบุคลากรทางการแพทย์

ลงชื่อเข้าใช้งาน

Error message here!

Hide Error message here!

Lost your password? Please enter your email address. You will receive a link to create a new password.

Error message here!

Close