วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน ค.ศ. 2024

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยในหญิง โรงพยาบาลปราสาท โดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 4 ส่วน  คือ ข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การปฏิบัติตัวและแบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ  และทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟาของคอนบราค  ค่าความเชื่อมั่น 0.620,  0.711 และ 0.669 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 ถึง 30 มกราคม 2551 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติวิเคราะห์ได้แก่ F- test ( ANOVA )  ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้

เมื่อพิจารณาความรู้ของผู้ป่วยเบาหวานพบว่าส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องโรคเบาหวานผ่านเกณฑ์ระดับสูง ร้อยละ 68.8 และผ่านเกณฑ์ในระดับปานกลาง ร้อยละ 31.3    และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวานพบว่ามีพฤติกรรมการปฏิบัติตัวถูกต้องร้อยละ 47.9     และปฎิบัติตัวไม่ถูกต้องร้อยละ 51.5         เมื่อพิจารณาระดับคะแนนทัศนคติที่ถูกต้องส่วนใหญ่มีระดับคะแนนปานกลางคิดเป็นร้อยละ  68.8

เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างจำแนกตาม อายุ  สถานภาพสมรส  อาชีพ รายได้ต่อเดือน สิทธิในการรักษา ระยะเวลาที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและระดับการศึกษา ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีระดับความรู้สูงมีการปฏิบัติตัวดีกว่ากลุ่มที่มีระดับความรู้ปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนตัวแปรอื่นๆไม่มีความเกี่ยวข้องต่อการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวาน

  จากข้อค้นพบดังกล่าว สามารถนำไปเป็นแนวทางพัฒนาโรคเบาหวานที่ต้องการดูแลอย่างต่อเนื่อง  ทั้งในสถานบริการและที่บ้าน ในเรื่องความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน สาเหตุ อาการ อาการแสดง และการรักษา ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ  การควบคุมอาหาร  การออกกำลังกายที่เหมาะสม การดูแลสุขภาพเท้า โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ การพัฒนาศักยภาพของผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมการดูแลตนเอง และมีทัศนคติที่ดี ตระหนักการดูแลตนเองที่ดีในทุกด้าน

ลงชื่อเข้าใช้งาน

Error message here!

Hide Error message here!

Lost your password? Please enter your email address. You will receive a link to create a new password.

Error message here!

Close