วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 2024

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้   มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ และเปรียบเทียบสมรรถนะพยาบาลกับมาตรฐานของสภาการพยาบาล  กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลที่ทำงานในโรงพยาบาลปราสาทที่มีประสบการณ์ทำงานด้านการพยาบาลห้องผ่าตัดไม่น้อยกว่า  1  ปี  และได้ขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพสาขาพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง     เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด มีสองส่วนคือ 1 ส่วนข้อมูลทั่วไป  2  แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด  โดยให้พยาบาลห้องผ่าตัดประเมินตนเอง   พยาบาลผู้ร่วมงานเป็นผู้ประเมิน  และหัวหน้าห้องผ่าตัดประเมินพยาบาลในหน่วยงานเครื่องมือการวิจัยที่สร้างขึ้น  ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ  3  ท่าน  และกระบวนการทางสถิติในการวิเคราะห์ตัวประกอบ (Factor  analysis ) และนำมาหาความเที่ยงของเครื่องมือ  โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ( Cronbach's Alpha coefficient ) จะต้องได้ค่าความเที่ยง .98    การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามโดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1  มีนาคม  2557  ถึง  วันที่  20  มีนาคม  2557  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ( Descriptive  statistic )ได้แก่  ร้อยละ ( percentage ) ใช้ค่าเฉลี่ย ( mean ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( Standard  deviation )  และใช้สถิติวิเคราะห์ One sample t – test  และ F – t ผลการวิจัย ตามวัตถุประสงค์ มีดังต่อไปนี้

 1  สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัดโดยรวมจากการประเมินตนเองประเมินโดยผู้ร่วมงาน  และประเมินโดยหัวหน้างาน   พบว่าได้ค่าเฉลี่ย เท่ากับ  3.59, 3.93, 0.98  ตามลำดับ  เมื่อทำการทดสอบความแตกต่าง พบว่า  คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ   แตกต่างกันทั้งหมด 

2     เมื่อเปรียบเทียบสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพกับเกณฑ์มาตรฐานของสภาการพยาบาล พบว่าคะแนนเฉลี่ยตำกว่าเกณฑ์เล็กน้อย แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ควรมีการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลห้องผ่าตัด โดยการจัดประชุมฝึกอบรม สัมมนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมรรถนะที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ยน้อย เช่น การพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยผ่าตัด สมรรถนะด้านการสื่อสารและจริยธรรมวิชาชีพการพยาบาล สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมการพยาบาลผ่าตัด และด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยผ่าตัดเพื่อให้พยาบาลมีสมรรถนะสูงขึ้น สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนสมรรถนะที่สำคัญของพยาบาลห้องผ่าตัดและเป็นแนวทางในการสร้างแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด

ลงชื่อเข้าใช้งาน

Error message here!

Hide Error message here!

Lost your password? Please enter your email address. You will receive a link to create a new password.

Error message here!

Close