วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 2024

บทคัดย่อ

             การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง รูปแบบพรรณนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปริมาณแคลอรีที่ผู้ป่วยได้รับและวัดความเพียงพอโดยอ้างอิงตามค่า Total Energy expenditure(TEE) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤติโรงพยาบาลปราสาท  จังหวัดสุรินทร์  ซึ่งเลือกจากกลุ่มผู้ป่วยที่รับอาหารทางสายยางให้อาหารทั้งสิ้น  92  ราย    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ  แบบสอบถาม  ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วย  ประกอบด้วย  2  ส่วน  ได้แก่  ข้อมูลทั่วไป  และ  แบบประเมินปริมาณแคลอรีที่ผู้ป่วยได้รับในแต่ละราย    ซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ  ซึ่งเป็นแบบวัดปริมาณแคลอรีที่ผู้ป่วยได้รับและความเพียงพอโดยอ้างอิงตามค่า Total Energy expenditure(TEE) เก็บรวบรวมข้อมูลโดย การเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนในช่วง 1 มกราคม 2556 จนถึง 31 ธันวาคม 2556 เป็นระยะเวลา 12 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติพรรณนา  ได้แก่  จำนวนร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และสถิติวิเคราะห์   พบว่า ผู้ป่วยในช่วงแรก โดยเฉพาะในช่วงอาทิตย์แรกของการรักษา มีแนวโน้มของการได้รับพลังงานที่ต่ำกว่าค่า  TEE  มากกว่าในช่วงวันหลังของกการรักษาและตลอดทั้ง 7 วันแรกของกการรักษานั้น มีผู้ป่วยที่ได้รับพลังงานน้อยกว่าที่ควรจะได้ถึงร้อยละ 50.15 และค่าเฉลี่ยปริมาณพลังงานที่ได้รับในช่วงแรกของการรักษาก็น้อยกว่าในช่วงวันหลังด้วย โดยในวันที่หนึ่งของการรักษานั้น  ผู้ป่วยได้รับพลังงานคิดเป็นร้อยละ 42.87 ของ TEE และร้อยละของพลังงานที่ได้รับเริ่มเพิ่มขึ้นในช่วงวันหลังของการรักษา  สาเหตุที่ทำให้ได้รับพลังงานไม่เพียงพอที่พบมากที่สุด เกิดจากคำสั่งการรักษาที่ให้พลังงานแก่ผู้ป่วยที่น้อยเกินไป (ร้อยละ 47 จากสาเหตุทั้งหมด) รองลงมาคือการมีอาหารค้างในกระเพาะอยู่มาก (ร้อยละ 27)  งดอาหารเพื่อป้องกันการสำลักลงปอดกรณีก่อนหรือหลังใส่ท่อช่วยหายใจ โดยเฉพาะการเฝ้าระวังทางเดินหายใจอาจมีปัญหาหรือการเตรียมก่อนเอาท่อช่วยหายใจออก(extubation) (ร้อยละ21) และงดอาหารทางสายเนื่องด้วยผู้ป่วยต้องระวังภาวะฉุกเฉินทางช่องท้องโดยต้องประเมินอาการทางหน้าท้อง(ร้อยละ5)
         จาการศึกษาพบว่าการได้รับปริมาณแคลอรีที่ไม่เพียงพอ นับเป็นปัญหาที่พบได้มาก  ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต  โรงพยาบาลปราสาท การทราบถึงสาเหตุจะช่วยในการปรับปรุงการดูแลผู้ป่วยได้อย่างมาก  ซึ่งทั้งแพทย์  และพยาบาลหอผู้ป่วยวิกฤตควรมีความรู้ความเข้าใจในการที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับพลังงานอย่างเพียงพอ  และเหมาะสม

ลงชื่อเข้าใช้งาน

Error message here!

Hide Error message here!

Lost your password? Please enter your email address. You will receive a link to create a new password.

Error message here!

Close