วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 2024

กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลปราสาทและสหวิชาชีพ ดูแลผู้ป่วยกลุ่มบาดเจ็บที่
ศีรษะและสมองที่มีอาการรุนแรง มีแนวโน้มจ านวนสูงขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2559,2560,2561 จ านวน
22,51,74 ราย และส่งต่อโรงพยาบาลศูนย์สุรินทร์ 15,38,45 รายตามล าดับ ในบทบาทของพยาบาล
จ าเป็นต้องพัฒนาความรู้และทักษะการดูแลรายกรณี เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วย Traumatic Brian
injury และเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาส าหรับประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยรายอื่นๆ เก็บข้อมูล
ในช่วงวันที่ 25 – 31 มีนาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการตีความสรุปประเด็นด้วย
เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา จัดท าข้อวิจารณ์และข้อเสนอแนะ
ผลการศึกษารายกรณีพบว่า ผู้ป่วยเพศชายวัยผู้ใหญ่ 30 นาทีก่อนโรงพยาบาล เมาสุรา
ทะเลาะวิวาทถูกตีด้วยอาวุธไม่ทราบชนิดที่ศีรษะ จากนั้นขับรถจักรยานยนต์หลบหนี รถล้มและถูกรุม
ท าร้ายร่างกายซ้ า มีแผลฉีกขาดที่ศีรษะและที่อกซ้าย อาการแรกรับผู้ป่วยรู้สึกตัวดี E4V5M6 ถาม
ตอบรู้เรื่อง มีแผลฉีกขาดที่ศีรษะข้างใบหูขวา และหน้าอกขวาได้รับการดูแลรักษาด้วยการเย็บซ่อม
บาดแผลที่หน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน แล้วส่งเข้านอนพักในหอผู้ป่วยในศัลยกรรม อีก 6 ชั่วโมงต่อมา
ผู้ป่วยบ่นปวดศีรษะ รับประทานยาแก้ปวดแล้วแต่อาการปวดศีรษะมากขึ้นเรื่อยๆและปวดท้องร่วม
ด้วย ต่อมาผู้ป่วยอาเจียนมีลิ่มเลือด แพทย์ท า FAST พบว่า Negative ญาติไม่พอใจบริการต้องการไป
โรงพยาบาลสุรินทร์ แพทย์อธิบายญาติและส่งท า CT brain พบ Depress skull fracture at
Rt.temperal bone and acute subarachnoid hemorrhage Rt. Prieto temporal lobe. จึง
พิจารณาส่งต่อไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลศูนย์สุรินทร์ วิเคราะห์ปัญหาระหว่างการดูแลรักษาที่
โรงพยาบาลปราสาท คือ การประเมินคนไข้ไม่ละเอียดที่หน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน, การประเมิน
ผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยในและให้ข้อมูลกับญาติไม่เพียงพอ รวมถึงการด าเนินการส่งต่อล่าช้า, ญาติวิตกกังวล
และไม่พึงพอใจบริการของพยาบาล
ผลการศึกษาครั้งนี้ น าไปสู่การทบทวนร่วมกันของสหวิชาชีพ โดยพยาบาลหน่วยอุบัติเหตุและ
ฉุกเฉินเป็นผู้ประสานเตรียมการประชุมทบทวน ร่วมวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อให้
ได้ข้อเสนอแนะการปรับปรุงระบบหรือขั้นตอนการดูแล ส าหรับประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยรายอื่นๆ ดังนี้ คือ
1).ระบบ/ขั้นตอนการประเมินผู้ป่วยที่หน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินร่วมกันทั้งแพทย์และพยาบาล 2).
ระบบ/ขั้นตอนการประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยใน การให้ข้อมูลญาติ การลด
ขั้นตอนการส่งต่อ 3).ระบบการตอบสนองต่อความต้องการของญาติผู้ป่วยด้วยการให้ข้อมูลกับญาติ
พอสังเขป ไม่ตอบโต้ รับฟังและแจ้งขั้นตอนการบริการโดยพยาบาล

เอกสาร
 

ลงชื่อเข้าใช้งาน

Error message here!

Hide Error message here!

Lost your password? Please enter your email address. You will receive a link to create a new password.

Error message here!

Close